ไม้กลายเป็นหินอายุ 800,000 ปี

Miraculous ..the wood becomes big stone most in the world

อัศจรรย์! ไม้กลายเป็นหินอายุ 800,000 ปี ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่จังหวัดตาก

เที่ยวจังหวัดตาก
วันนี้อากาศสดใสครับ ขับรถผ่านไป-ผ่านมาเห็นแต่ป้าย “วนอุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นหิน” มาหลายเดือนแล้วก็เลยแวะไปชมซะหน่อย เห็นเขาบอกว่ามีสภาพสมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในโลก..เวอร์..ไปหรือเปล่า? ถ้าจริงอย่างที่เขาว่ามันจะอะเมซซิ่งขนาดใหนต้องเข้าไปดูครับ
..
ไม้กลายเป็นหินต้นที่ 1 ขนาดความโตเฉลี่ย 1.80 เมตร ยาว 72.22 เมตร
พอไปเจอกะตา..โอ้ว!..พระเจ้า!..แทบไม่น่าเชื่อครับ...เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ผมเองเพิ่งได้มีโอกาสเห็น มันช่างอัศจรรย์อะไรอย่างนี้..ไม่ได้แล้วครับต้องนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นเป็นขวัญตาซะหน่อยแล้วล่ะครับ
       
ไม้กลายเป็นหินต้นที่ 1 มีสภาพสมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดความโตเฉลี่ย 1.80 เมตร ยาว 72.22 เมตร ขุดเปิดหน้าดินเมื่อ พ.ศ.2546 อายุประมาณ 800,000 ปี

ผมถ่ายภาพนี้ห่างจากจุดที่ไม้กลายเป็นหินต้นที่ 1  อยู่  ประมาณ 25 เมตรได้ครับ เป็นต้นแรกที่ขุดพบ ส่วนโคนต้นด้านล่างกะระยะสายตาน่าจะประมาณ 10 คนโอบได้ครับ หรืออาจจะมากกว่านั้น (ตอนที่ผมไปเที่ยวเข้าใจว่าทางอุทยานกำลังมีการก่อสร้างโดมหรือหลังคาเพื่อรักษาสภาพไม้กลายเป็นหินให้คงสภาพเดิมไว้อยู่ครับ) เนื่องจากทางวนอุทยานไม่ให้ลงไปด้านล่าง  ภาพที่เห็นนี้เป็นต้นที่ 1 ครับ (มีทั้งหมด 7 ต้น) ตามประวัติบอกว่าเป็นต้นที่ใหญ่ที่สุด และสมบูรณ์ที่สุดในโลกด้วยล่ะ.. ว่าแล้วก็น่าประทับใจแทนชาวจังหวัดตาก **โดยเฉพาะอำเภอบ้านตาก** จังเลยครับ ส่วนผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ในจังหวัดตากเมื่อไม่นานนี่เองครับ..ใหนๆ ก็เป็นคนจังหวัดตากแล้ว ก็ต้องหาของดีมาอวดกันหน่อยล่ะครับ..อยากรู้มั๊ย..ว่าต้นไม้..กลายเป็นหินได้ยังงัย?


ตามเอกสารที่ทางวนอุทยานจัดเตรียมไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา ก็มีรายละเอียดดังนี้ครับ

ไม้กลายเป็นหินต้นที่ 7ขนาดความโตเฉลี่ย 1.50 เมตร ยาว 38.70 เมตร

ไม้กลายเป็นหินต้นที่ 1 ขุดพบครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยการนำของนายวชิระ ม่วงแก้ว ป่าไม้เขต จ.ตาก ได้ทำการขุดเปิดหน้าดินจนสุดลำต้นเมื่อปีพ.ศ.2548 ส่วนไม้กลายเป็นหินต้นที่ 2 - 7ขุดเปิดหน้าดินจนสุดลำต้นเมื่อปีพ.ศ.2546 ครับ 

ไม้กลายเป็นหินเป็น Fossil ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากซากต้นไม้ ซึ่งถูกแทนที่ด้วยน้ำบาดาลที่มีสารละลายของซิลิก้า และเกิดการตกตะกอนกลายสภาพเป็นหินอย่างช้าๆ คือการแทนที่แบบโมเลกุล จนกระทั่งกลายเป็นหินทั้งหมด  โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างอีกเลย  โดยปรกติแล้วซิลิก้าในเนื้อไม้จะมีอยู่ในรูปของโอปอล์และคาลซิโดนี ทำให้มีสีสันหลากหลายสวยงาม ลักษณะการเกิดของไม้กลายเป็นหินเช่นนี้ จะทำให้สภาพรูปร่างและโครงสร้างดั้งเดิมของซากต้นไม้ถูกเก็บไว้ ไม่ว่าจะเป็น เปลือก ราก กิ่ง และหน่อ 

ไม้กลายเป็นหินมักฝังตัวอยู่ในชั้นกรวด คาดว่าจะเป็นการสะสมตัวในยุคควอเตอร์นารี ตอนต้น เป็นบริเวณต่อเนื่องระหว่างตะกอนตะพักระดับสูง ตะกอนตะพักระดับปานกลาง และล้อมรอบด้วยตะกอนตะพักระดับต่ำ มีอายุประมาณ 800,000 ปี..แล้วพวกเราไปอยู่ใหนกันล่ะเนี่ย?

จากการแพร่กระจายของตะกอนตะพักที่ปรากฏ น่าจะเกิดการสะสมตัวบริเวณตะพักคุ้งน้ำของแม่น้ำปิงโบราณ ก่อนที่จะมีการปรับสภาพและเปลี่ยนทางเดินกลายเป็นแม่น้ำปิงในปัจจุบัน (แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดตาก โดยมีเขื่อนภูมิพลกั้นไว้ครับ)
ไม้กลายเป็นหินจะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ไขไปสู่ความเป็นมาของโลกในอดีต เพื่อให้ทราบถึงประวัติของบรรพชีวิน พกฤษศาสตร์ และภูมิศาสตร์ บรรพกาล ตลอดจนอายุและความเป็นมา และพัฒนาการของโลก
ดังนั้นไม้กลายเป็นหินจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่หายาก และมีคุณค่าทั้งในด้านวิชาการ เศรษฐิจการท่องเที่ยว และการเป็นมรดกของแผ่นดิน ในประเทศไทยจะพบไม้กลายเป็นหินที่แพร่กระจายอยู่ทั่วไป  แต่พบมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ส่วนภาคใต้และภาคกลางมีพบบ้างเล็กน้อย
ไม้กลายเป็นหินต้นที่ 3 ความโตเฉลี่ย 2.10 เมตร ยาว 32.40 เมตร

สถานที่ และการเดินทางมาเที่ยวชมไม้กลายเป็นหิน

ไม้กลายเป็นหินอยู่ในเขตวนอุทยานแห่งชาติอำเภอบ้านตากจังหวัดตากครับ  พื้นที่บริเวณที่พบไม้กลายเป็นหินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สลิด – โป่งแดง ท้องที่หมู่ 7 ต.ตากออก อ.บ้านตากประมาณ 4 กม. ปากทางเข้าอยู่ตรงบริเวณหลักกม.ที่ 443 ถนน พหลโยธิน การเดินทางมาเที่ยวชมไม้กลายเป็นหิน ใช้เส้นทางลำรอง ตรงข้ามโรงพยาบาลบ้านตากห่างจากถนนพหลโยธิน 2.5 กิโลเมตร เท่านั้นเองครับ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีต้นไม้ขนาดกลางและเล็กขึ้นหนาแน่นกระจัด
กระจายอยู่ทั่วไป  ทัศนียภาพบริเวณข้างทางเข้าเที่ยวชมร่มรื่นมากครับ
ภาพระยะใกล้ส่วนของเนื้อไม้ที่กลายเป็นหิน
            
               ภาพนี้ผมเก็บรายละเอียดให้ดูใกล้ๆครับ จะเห็นแนวเยื่อไม้อย่างชัดเจน เป็นตัวอย่างที่ทางวนอุทยานจัดไว้ให้ผู้เข้าชมสัมผัสดูได้ครับ..แข็งเหมือนหินเลยล่ะ..อ้าว!..ก็ไม้กลายเป็นหินนี่นา..จะไม่แข็งได้งัยล่ะ  เมื่อเห็นแบบนี้แล้วผมเองก็อดที่จะนึกถึงบรรพชนยุคโบราณไม่ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอยู่ หรือไม่ก็นึกถึงอารยะธรรมสมัยนั้น คิดดูสิครับต้นไม้สูงเกือบ 100 เมตร ลำต้นขนาด 10 คนโอบโดยประมาณ คนยุคนั้นผมว่าไม่น่าธรรมดานะครับ ความสูงของคนยุคนั้นน่าจะเกิน 2-3 เมตรหรืออาจจะมากกว่าก็ได้..ว่ามั๊ย...ตอนที่ผมไปเก็บภาพก็รู้สึกเหมือนมีไดโนเสาร์ยืนอยู่ข้างหลัง เหมือนยืนอยู่ในป่าเฟิร์น..เวอร์ไปมั๊ง..**อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับไม่เกี่ยวกับวิชาการ**

                       ปล.ในเมืองไทยประเทศไทยของเราก็มีสิ่งน่าอัศจรรย์ มีสถานที่ต่างๆที่น่าท่องเที่ยวให้เราได้ไปสัมผัส และไปศึกษาหาความรู้อีกมากมายครับ โดยเฉพาะน้ำตก ทีลอซู ที่อำเภออุ้มผางจังหวัดตาก เปรียบเทียบความงดงามแล้วไม่ต่างอะไรกับน้ำตกไนแอการ่าเลยล่ะ  เหมือนสโลแกนที่ว่า เที่ยวเมืองไทย ไม่ไป ไม่รู้เที่ยวเมืองไทยของเราดีกว่าครับ..พี่ๆเพื่อนๆทั้งหลาย
บทความหน้าจะหาสิ่งดีๆมาอวดกันอีก รับรองไม่ผิดหวังแน่..อย่าลืมติดตามนะครับ

Miraculous !  the wood becomes a stone age 800,000 year  big most in the world stays Tak
            
              The wood becomes stone 1 digs to meet for the first time when  November  2546 Buddhist Eras by the lead s of Mr. purple a glass  border forest  the province is shine upon  get do the scoop opens until last trunk ground when  year 2548 Buddhist Eras  the wood becomes a stone is  Fossil  one kind is which  happen by oneself as its nature may be  by born from tree carcass  which  touch  instead of with the underground water that have the solution of chip  and born sediment fall changes to the state is type stone slowly  be the replacement like  the watermelon lies  until  become all stone  by have no figure change and the structure again  usual already chip in the wood will exist in a picture of O the fiber plants and at  make be colorful beautiful various  occurrence character of the wood becomes a stone such  will make figure state and original structure of tree carcass were kept  neither be  shell  root  branch  and a shoot  the wood becomes a stone often is lieeing hidden in the pebble  suppose will accumulation in urge Ministry of Transport and litter stump woman Communications at the beginning  be continual area between ledge high-level sediment  ledge average sediment  and surround with ledge level low sediment  old about 800,000 year ..  already we are going to the time this ?  from spreading of ledge sediment that appears  should born area ledge bend of watercourse accumulation of Ping ancient River  before  there is fining state and change the footpath become the Ping River in now  ( the Ping River is a river late important at flows through Tak  by have Bhumipol Dam  separate keep  the wood becomes a stone is will important lock at reveals to worldly background in the past  for  know about the history begs for nun budget  carry a science  and the geography  the old days  including  age and the background  and worldly development  thus the wood becomes a stone then is natural scarce resources  and worthy both of in the sense of technical  tourism arrow  and bing heritage of the land  in Thailand will meet the wood becomes a stone that is spreading general  but  meet very Northeastern area and the North  South part and middle part have to meet ? a little  place  and the travel comes to tour the wood becomes amphur house shine upon Tak stone  area area that meet the wood becomes a stone is in National forest mother sanctuary trims  swell red  7 group district shine upon jurisdictions go out  district about 4 a kilometer  the entrance is possessed straight 443 pillar kilometer road areas  Paholyothin  the travel comes to tour the wood becomes a stone  use route supports  opposite house shine upon far hospital from 2.5 Paholyothin kilometer roads  only  area state generally is deciduous nest forest  there is medium-size tree and tiny go up densely disperse  spread general  area sideways scenery reaches to tour is shady very.
“Tour Thailand do not go to  unknow

สภาพโดยรวมของจังหวัดตาก

สภาพพื้นที่โดยรวมของจังหวัดตาก
ในบทนี้จะขออธิบายสภาพโดยรวมของจังหวัดตากพอสังเขป เอาเป็นว่าพอเข้าใจก็แล้วกันนะครรับ

"ธรรมชาติน่ายล  ภูมิพลเขื่อนใหญ่  พระเจ้าตากเกรียงไกร  เมืองไม้และป่างาม"

จังหวัดตาก มีพื้นที่ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทยครับ 

ทางทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง  
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี และกาญจนบุรี  
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี 
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศพม่า

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป
แผนที่จังหวัดตาก


จังหวัดตากประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับทำการเกษตรน้อย โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงเป็นเทือกเขาถนนธงชัยสูงสลับซับซ้อน

การปกครองในจังหวัดตาก มีทั้งหมด 9 อำเภอ 63 ตำบล 559 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 13 เทศบาลตำบล และ 53 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  

อำเภอของจังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอเมืองตาก บ้านตาก สามเงา แม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง พบพระ อุ้มผาง และวังเจ้า

ขอขอบคุณที่มา: www.takpao.go.th


น้ำตกทีลอซู

น้ำตกทีลอซู อุ้งผางแห่งเมืองตาก

เที่ยวจังหวัดตาก
น้ำตกทีลอซูเป็นน้ำตกที่สวยอันดับ 6 ของโลก ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง การเดินทางไปได้ทั้งทางรถยนต์ และโดยการล่องแพ เส้นทางรถยนต์นั้นให้ใช้เส้นทางอุ้มผาง-แม่กลองใหญ่จนถึงกม.ที่ 20 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางประมาณ 27 กม. ทางช่วงนี้ต้องใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น และนักท่องเที่ยวยังสามารถล่องเรือยางไปตามลำน้ำแม่กลองผ่านน้ำตกทีลอจ่อ (น้ำตกสายฝน) ไปขึ้นที่ผาเลือดใช้เวลา 3 ชั่วโมง แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีกประมาณ 45 นาที และในช่วงระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. ถึง 31 ต.ค. (ช่วงฤดูฝน) ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจะปิดเส้นทางรถยนต์เนื่องจากเป็นโคลน กล่าวกันว่าเป็นความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวผู้นิยมธรรมชาติ เพราะเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
น้ำตกทีลอซู
น้ำตกทีลอจ่อ

น้ำตกทีลอจ่อ หรือน้ำตกสายฝน เป็นน้ำตกที่ไหลจากหน้าผาที่อยู่ในเส้นทางล่องแพ อุ้มผาง-ทีลอซูลงสู่ห้วยแม่กลอง หากล่องแพในสายน้ำแม่กลองจะเห็นสายน้ำตกไหลโปรยปรายคล้ายสายฝนตลอดเวลา เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมเล่นน้ำตกในระหว่างการล่องแพเดินทางเข้าชมน้ำตกทีลอซูอีกด้วย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านทิศตะวันออก
องค์การยูเนสโก้ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นมรดกโลก ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 และเพราะความกว้างใหญ่ไพศาลมีพื้นที่กว่า 2 ล้านไร่ จึงแยกจากการดูแลเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตกในพื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และฝั่งตะวันออก คือ อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยเดินทางไปตามถนนอุ้มผาง-แม่ละมุ้ง ประมาณ 60 กม. เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีววิทยา และเป็นเขตที่มีพัฒนาการสิ่งมีชีวิต ทั้งยังเป็นป่าอนุรักษ์แหล่งใหญ่ที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกัน  กิจกรรมที่น่าสนใจคือ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ กิจกรรมแค้มป์ไฟ ส่องสัตว์และนั่งห้างในเวลากลางคืน

ประเพณีปีใหม่กะเหรี่ยง
      
ตรงกับวันขึ้น   1 ค่ำ  เดือน 6 ตามจันทรคติซึ่งจะตรงกับประมาณเดือนเมษายนของทุกปี การจัดงานขึ้นปีใหม่นอกจากเป็นการเปลี่ยนฤดูกาลแล้ว ยังเป็นการดับความรุ่มร้อนเพื่อชีวิต สังคม และธรรมชาติจะสงบเย็นตลอดไปในปีถัด ๆไป ในตอนเช้าเป็นพิธีซ่อมแซมและทำความสะอาดสะพาน ทำพิธีไหว้สะพาน ลำห้วย พระแม่คงคง และแม่พระธรณี ปล่อยปลา ปล่อยเต่า หรือสัตว์อื่น ๆ จากนั้นจะมีการค้ำต้นโพธิ์ ต้นไทร ช่วงบ่ายเป็นพิธีกินน้ำสุก ก่อนกินน้ำสุกลูกหลานจะนำน้ำขมิ้นมาล้างเท้าพ่อแม่หรือคนเฒ่าคนแก่ พิธีขึ้นบ้านใหม่กะเหรี่ยงจึงเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณอย่างแท้จริง
ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก โทร.055512356

น้ำตกพาเจริญ


น้ำตกพาเจริญ

เที่ยวจังหวัดตาก
น้ำตกพาเจริญ เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกันกับแหล่งน้ำซับแล้วไหลลงสู่ชั้นน้ำตกที่นับรวมได้ถึง 97 ชั้น มีน้ำตลอดปี จะสวยงามมากในช่วงปลายฤดูฝน

น้ำตกพาเจริญ
การเดินทาง
ใช้ทางหลวงสาย 1090 สายแม่สอดอุ้มผาง มีทางแยกซ้าย กม.ที่ 37 เข้าไปอีกประมาณ 700 เมตร

ไร่กุหลาบอำเภอพบพระ

อำเภอพบพระมีพื้นที่ปลูกกุหลาบมากที่สุดในภาคเหนือก็ว่าได้ มีกุหลาบสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะกุหลาบไร้หนาม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ทุกฤดูกาล
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก
โทรศัพท์  055514341-3 ทุกวันในเวลาราชการ

ประเพณีปีใหม่ม้ง

ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับประมาณเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ในวันปีใหม่ม้งนี้จะมีการพบปะกันระหว่างกลุ่มญาติ มีประเพณีขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส เป็นวันที่หนุ่ม ๆ สาว ๆ ในหมู่บ้านจะได้เลือกคู่ มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเพณีและการละเล่นต่าง ๆ เช่น ลูกข่าง ลูกช่วง และยังมีการแข่งขันล้อเลื่อนไม้ชิงแชมป์ประเทศไทยซึ่งเป็นกีฬาที่ท้าทาย และน่าสนใจเป็นอย่างมาก

วนอุทยานต้นไม้กลายเป็นหิน


แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบ้านตาก ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักของชาวจังหวัดตาก มีแห่งเดียวคือ

วนอุทยานต้นไม้กลายเป็นหิน
วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลตากออก อ.บ้านตาก จ.ตาก

ไม้กลายเป็นหินอายุกว่าแปดแสนปี
เที่ยวจังหวัดตาก
จุดเด่นน่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ ไม้กลายเป็นหิน (Petried Wood) อายุประมาณ 800,000 ปี มีความกว้างเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1.80 เมตร ยาว 72.22 เมตร เป็นต้นที่มีขนาดใหญ่และมีความยาวที่สุดในโลก และมีสภาพโครงสร้างสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่เคยพบมา นอกจากนั้นยังพบไม้กลายเป็นหินอีกจำนวน 6 ต้น เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้าเที่ยวชมและศึกษาหาความรู้


ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก โทร.055512356

ถ้ำแม่อุสุ

ถ้ำแม่อุสุ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าสองยางที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักของชาวจังหวัดตาก

เที่ยวจังหวัดตาก
ถ้ำแม่อุสุ อยู่ห่างจากที่ว่าการ อ.ท่าสองยาง ไปทางเหนือประมาณ 12 กม. บนเส้นทางสายแม่สอด-แม่สะเรียง ทางหลวงหมายเลข 105 กิโลเมตรที่ 94 ไปเล็กน้อย จะพบทางแยกซ้ายมือ เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร การเดินทางไปชมถ้ำจะต้องเดินลุยไปตามลำห้วยแม่อุสุ ช่วงฤดูฝนเข้าชมถ้ำไม่ได้ เนื่องจากระดับน้ำในลำธารจะสูงมาก ภายในถ้ำกว้างใหญ่ เพดานสูง อากาศโปร่ง มีหินงอก หินย้อย รูปร่างต่าง ๆ สวยงามมาก ทางเดินไม่ลำบาก หากปีนขึ้นไปจนทะลุโพรงหิน จะยิ่งสวยงาม เมื่อเดินเข้าไปในถ้ำระยะหนึ่งแล้ว หันกลับมาดูทางเข้าจะเห็นลำห้วยที่ไหลคดเคี้ยวออกจากถ้ำที่มืดไหลไปสู่ปากถ้ำที่สว่าง และบริเวณด้านหลังเป็นทุ่งหญ้าสีเขียวสวยงาม

ถ้ำแม่อุสุ
ชมทะเลหมอกและอุทยานแห่งชาติแม่เมย

-ม่อนกิ่วลม  เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวมากที่สุด เพื่อดูพระอาทิตย์ยามเช้าเหนือทะเลหมอก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 14 กิโลเมตร
-ม่อนครูบาใสและม่อนพูนสุดา  อยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร สามารถชมทะเลหมอกยามเช้าและพระอาทิตย์ตกดิน  อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตร

ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก โทร.055512356